เมนู

[1254] ครั้นพระหาริตฤาษีกล่าวคำนี้แล้ว มี
ความบากบั่นอย่างแท้จริง คลายกามราคะได้
แล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

จบ หริตจชาดกที่ 5

อรรถกถาหริตจชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสัน จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุตเมตํ มหาพฺรหเม
ดังนี้.
ความย่อมีว่า ภิกษุรูปนั้นเห็นมาตุคามคนหนึ่งแต่งตัวสวยงาม
เกิดความกระสัน ปล่อยผมเล็บและหนวดไว้จนยาวอยากจะสึก พระ-
อุปัชฌาย์อาจารย์แนะนำก็ไม่พอใจ พระศาสดาตรัสถามว่า จริงหรือ
ภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสัน ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า
จึงตรัสถามว่า เหตุไรเธอจึงกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า กระสัน
ด้วยอำนาจกิเลส และได้เห็นมาตุคามแต่งตัวสวยงามพระเจ้าข้า. จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดากิเลสย่อมไม่มีความชื่นบาน เพราะขจัด
คุณความดี มีแต่จะให้ตกนรก และกิเลสนั้นทำไมจักไม่ทำให้เธอลำบาก
เล่า มีแรงพัดเขาสิเนรุ ทำไมจักไม่พัดใบไม้เก่า ๆ ให้กระจัดกระจายได้
แม้พระมหาบุรุษผู้วิสุทธิชาติได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 ดำเนินตาม

รอยพระโพธิญาณ เพราะอาศัยกิเลสชนิดนี้ จึงไม่อาจจะดำรงสติอยู่ได้
ยังต้องเสื่อมไปจากฌาน. ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในนคร
พาราณสี. พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มีสมบัติ 80 โกฏิใน
นิคมแห่งหนึ่ง มารดาบิดาได้ขนานนามให้พระองค์ว่า หาริตกุมาร
เพราะพระองค์มีผิวเหลืองดังทอง กุมารนั้นครั้นเจริญวัยแล้วสำเร็จการ-
ศึกษาที่เมืองตักกศิลา รวบรวมทรัพย์ไว้ ครั้นมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว
ได้ตรวจตราดูทรัพย์สมบัติได้ความคิดขึ้นว่า ทรัพย์เท่านั้นที่ยังปรากฏอยู่
ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดขึ้นหาปรากฏอยู่ไม่ แม้เราก็จะต้องแหลกละเอียด
ไปในปากแห่งความตาย ดังนี้ กลัวต่อมรณภัย ได้ให้ทานเป็นการใหญ่
แล้วเข้าไปยังหิมวันตประเทศบวชเป็นฤาษี ในวันที่ 7 ได้อภิญญา 5
และสมาบัติ 8 มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ดำรงชีพอยู่ใน
ที่นั้นเป็นเวลานาน ต้องการจะเสพอาหารที่มีรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงลงจาก
บรรพตไปโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี เข้าไปอยู่ในสวนหลวง วัน
รุ่งขึ้นเที่ยวภิกขาจารในพระนครพระราณสี บรรลุถึงพระลานหลวง
พระราชาทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้นมีพระทัยเลื่อมใส รับสั่งให้นิมนด์
นั่งบนราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร ให้ฉันโภชนะที่มีรสอันเลิศต่าง ๆ
เมื่อดาบสฉันแล้วอนุโมทนาจบลง พระองค์ยิ่งทรงเลื่อมใสมากขึ้น ตรัส

ถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไป ณ ที่ไหน ? เมื่อดาบสถวายพระพรว่า
อาตมภาพเที่ยวหาที่จำพรรษามหาบพิตร. จึงตรัสว่า ดีแล้วพระผู้เป็น
เจ้า. ครั้นเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ทรงพาดาบสไปพระราช-
อุทยาน รับสั่งให้สร้างที่เป็นที่พักกลางคืนและที่เป็นที่พักกลางวันเป็น
ต้นถวายพระดาบส ให้คนรักษาพระราชอุทยานเป็นผู้คอยปฏิบัติ ทรง
อภิวาทแล้วเสด็จกลับ แต่นั้นมา พระมหาสัตว์ได้ฉันที่พระราชมณเฑียร
เป็นนิตย์อยู่ตลอด 12 ปี.
อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาจะเสด็จไปปราบประเทศชายแดนที่ก่อ
ความไม่สงบขึ้น ทรงมอบหมายพระมหาสัตว์ไว้แก่พระราชเทวีว่า เธอ
จงอย่าลืมบุญเขตของเราเสีย. แล้วเสด็จไปตั้งแต่นั้น พระราชเทวีได้
ทรงอังคาสพระมหาสัตว์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ครั้นวันหนึ่ง พระ-
นางทรงตกแต่งโภชนะไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อพระดาบสยังช้าอยู่ พระนาง
จึงสรงสนานด้วยน้ำหอม แล้วทรงนุ่งพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียด รับสั่ง
ให้เผยสีหบัญชรประทับบนเตียงน้อยให้ลมพัดต้องพระวรกายอยู่ พระ
มหาสัตว์นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว ถือภาชนะสำหรับใส่ภิกษา เหาะมาถึง
สีหบัณชร พระราชเทวีได้สดับเสียงผ้าคากรองของพระมหาสัตว์ ก็
เสด็จลุกขึ้นโดยเร็ว พระภูษาเลื่อนหลุดหล่นลง วิสภาคารมณ์ได้กระทบ
จักษุพระมหาสัตว์ ทันใดนั้น กิเลสซึ่งหมักดองอยู่ภายในพระมหาสัตว์
นั้นหลายแสนโกฏิปี มีอาการยังอสรพิษที่นอนขดอยู่ในข้อง ก็กำเริบ

ขึ้นทำฌานให้อันตรธานไป พระมหาสัตว์ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ จึง
เข้าไปจับพระหัตถ์พระราชเทวี แล้วทั้งสองก็รูดม่านลงกั้นในทันใดนั้น
แล้วเสพโลกธรรมด้วยกัน ครั้นแล้วพระมหาสัตว์ก็ฉันภัตตาหารแล้ว
เดินไปพระราชอุทยาน ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้ทำเช่นนั้นทุก ๆ วัน.
ข่าว ณ ที่พระมหาสัตว์เสพโลกธรรมกับพระราชเทวีได้แพร่สะพัด
ไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ได้ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชาว่า.
หาริตดาบสได้ทำอย่างนี้. พระราชามิได้ทรงเชื่อ โดยทรงพระดำริว่า
พวกอำมาตย์ประสงค์จะทำลายเรา จึงได้กล่าวอย่างนี้ ครั้นทรงปราบ
ประเทศชายแดนให้สงบลงแล้ว ก็เสด็จกลับพระนครพาราณสี ทรงทำ
ปทักษิณพระนครแล้ว เสด็จไปสำนักพระราชเทวี มีพระดำรัสถามว่า
ได้ข่าวว่าหาริตดาบสพระผู้เป็นเจ้าของเรา เสพโลกธรรมกับเธอเป็น
ความจริงหรือ ? พระราชเทวีกราบทูลว่า จริงเพคะ. พระราชายังไม่
ทรงเชื่อแม้พระราชเทวีทรงดำริว่า จักถามพระดาบสนั่นเอง. จึงเสด็จ
ไปพระราชอุทยาน นมัสการแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง เมื่อ
ตรัสถามความนั้น ได้ตรัสคาถาที่ 1 ว่า :-
ข้าแต่มหาพรหม โยมได้ยินเขาพูดกัน ว่า
พระหาริตดาบสบริโภคกาม คำนี้ไม่เป็นจริง
กระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺเจตํ เป็นต้น ความว่า คำที่
โยมได้ยินว่า พระมหาริตดาบสบริโภคกาม ดังนี้นั้น เป็นคำเปล่า คือ
เป็นคำไม่จริงกระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ ?
พระดาบสคิดว่า เมื่อเราทูลว่า เราไม่ได้บริโภคกาม พระราชา
นี้ก็จักทรงเชื่อเราเท่านั้น แต่ว่าในโลกนี้ ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งที่เช่นกับความ
สัตย์ไม่มี เพราะว่าผู้ที่ทิ้งความสัตย์เสียแล้ว ย่อมไม่สามารถจะนั่งที่
โพธิบัลลังก์บรรลุพระโพธิญาณได้ เราควรกล่าวแต่ความสัตย์เท่านั้น.
จริงอยู่ปาณาติบาตก็ดี อทินนาทานก็ดี กาเมสุมิจฉาจารก็ดี สุราบาน
ก็ดี ย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ได้บ้างในฐานะบางอย่าง แต่มุสาวาทที่มุ่ง
กล่าวให้คลาดเคลื่อนหักประโยชน์เสีย ย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์เลย
ฉะนั้น เมื่อพระดาบสจะกล่าวความสัตย์ จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์ได้
ทรงสดับถ้อยคำมาแล้วอย่างใด ถ้อยคำนั้น
เป็นจริงอย่างนั้น อาตมภาพเป็นผู้หมกมุ่นอยู่
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง เดินทางผิด
แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โมหเนยฺเยสุ คือ ในกามคุณ
จริงอยู่ชาวโลกทั้งหลาย ย่อมลุ่มหลงกามคุณ เพราะเหตุนั้น กามคุณ
ท่านจึงเรียกว่า โมหเนยยะ.

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ 3 ว่า :-
ปัญญาที่ละเอียด คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์
เป็นเครื่องบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วของท่านมี
ไว้เพื่อประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจบรรเทา
ความคิดที่แปลกได้.

ศัพท์ว่า อทุ ในคาถานั้นเป็นนิบาต.
ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาเภสัชย่อมเป็น
ที่พึ่งของคนไข้ น้ำดื่มเป็นที่พึ่งของคนกระหายน้ำ ก็ปัญญาที่ละเอียด
คิดสิ่งที่ดีคือที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบันเทาราคะเกิดขึ้นแล้วของท่าน
มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?
บทว่า กึมโน น วิโนทเย ความว่า เหตุไร ? ท่านจึงไม่
อาจใช้ปัญญานั้นบันเทาความคิดที่แปลกได้.
ลำดับนั้น หาริตดาบสเมื่อจะแสดงกำลังของกิเลสแก่พระราชา
ได้กล่าวคาถาที่ 4 ว่า :-
ข้าแต่มหาบพิตร กิเลส 4 อย่างเหล่านี้
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มทะ เป็นของมี
กำลังกล้า หยาบคายในโลก เมื่อกิเลสเหล่า
ใดรึงรัดแล้ว ปัญญาก็หยั่งไม่ถึง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า เมื่อกิเลส
เหล่าใดถึงการรึงรัดแล้ว ปัญญาก็ย่อมไม่ได้การหยั่งถึง คือการตั้งอยู่
เหมือนคนตกลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น.
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ 5 ว่า :-
โยมได้ยกย่องท่านแล้วอย่างนี้ว่า หาริต-
ดาบสเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วยศีล ประ-
พฤติบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญาแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อิติ โน สมฺมโต ความว่า
โยมได้ยกย่อง คือได้สรรเสริญท่านแล้วอย่างนี้.
หาริตดาบสได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ 6 ต่อจากนั้นว่า :-
ข้าแต่มหาบพิตร วิตกอันลามก เป็น
ไปด้วยการยึดถือนิมิตรว่างาม ประกอบด้วย
ความกำหนัด ย่อมเบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญา
ผู้ยินดี แล้วในคุณธรรมของฤาษี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภา คือ เป็นไปแล้วด้วยการยึดถือ
นิมิตรว่างาม.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะให้หาริตดาบสเกิดอุตสาหะในการ
ละกิเลส จึงตรัสคาถาที่ 7 ว่า :-

ความกำหนัดนี้เกิดในกาย เกิดขึ้นมา
แล้วเป็นของทำลายวรรณะของท่าน ท่านจง
ละความกำหนัดนั้นเสีย ความเจริญย่อมมีแก่
ท่าน ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่องแล้วว่า
เป็นคนมีปัญญา.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วณฺณวิทูสโน ตว คือ เป็น
ของทำลายสีกายและคุณความดีของท่าน. บทว่า พหุนาสิ ความว่า
ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่องแล้วว่าเป็นคนมีปัญญา.
คราวนี้ พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วกลับได้สติ กำหนดโทษ
ในกามทั้งหลายแล้ว กล่าวคาถาที่ 8 ว่า :-
กามเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์
มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมภาพจักค้นหามูล
รากแห่งกามเหล่านั้น จะตัดความกำหนัด
พร้อมเครื่องผูกเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธกรเณ คือ ชื่อว่าทำแต่ความ
มืดให้ เพราะทำปัญญาจักขุให้พินาศ. ในบทว่า พหุทุกฺเข นี้ บัญฑิต
พึงนำสูตรว่า กามทั้งหลายมีความแช่มชื่นน้อย ดังนี้เป็นต้น มาแสดง

ถึงความที่กามเหล่านั้นมีทุกข์มาก. บทว่า มหาวิเส คือ ชื่อว่ามีพิษ
ใหญ่หลวง เพราะพิษคือสัมปยุตตกิเลสและพิษคือวิบากเป็นของยิ่งใหญ่.
สองบทว่า เตสํ มูลํ ความว่า อาตมภาพจักค้นหา คือจัก
แสวงหามูลรากแห่งกามเหล่านั้น เพื่อละกามซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว
เหล่านั้นเสีย.
ถามว่า ก็อะไรเป็นมูลรากแห่งกามเหล่านั้น ?
ตอบว่า อโยนิโสมนสิการ.
บทว่า เฉชฺชํ ราคํ สพนฺธนํ ความว่า ข้าแต่มหาบพิตร
บัดนี้ อาตมภาพจักตัดความกำหนัดที่ชื่อว่าเครื่องผูกพัน เพราะเครื่อง
ผูกพันคือศุภนิมิตร โดยประการเสียด้วยดาบคือปัญญา.
ก็แหละ ครั้นกล่าวดังนี้แล้วได้ขอพระราชทานโอกาสว่า ข้าแต่
มหาบพิตร ขอพระองค์จงประทานโอกาสแก่อาตมาภาพก่อน. แล้วเข้า
ไปยังบรรณศาลา พิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมแล้วให้เกิดขึ้นอีก
ออกจากบรรณศาลา นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศถวายธรรมเทศนาแด่พระ-
ราชา แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร อาตมภาพถูกติเตียนในท่ามกลาง
มหาชน เพราะเหตุที่มาอยู่ในที่ไม่สมควร ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่
ประมาท บัดนี้ อาตมภาพจักกลับไปสู่ไพรสณฑ์ให้พ้นจากกลิ่นสตรี.

เมื่อพระราชาทรงกรรแสดงปริเทวนาอยู่ ได้ไปสู่หิมวันตประเทศ ไม่
เสื่อมจากฌานแล้ว เข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้วทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัสพระคาถานี้
ว่า :-
ครั้นพระหาริตฤาษีกล่าวคำนี้แล้ว มี
ความบากบั่นอย่างแท้จริง คลายกามราคะได้
แล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม เวลาจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล
แล้วพระทศพลทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น
พระอานนท์ในบัดนี้ หาริตดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต
ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาหริตจชาดกที่ 5

6. ปทุกสลมาณวชาดก



ว่าด้วยภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย



[1255] แม่น้ำคงคาพัดเอามาณพชื่อปาฏลี ผู้คง
แก่เรียน มีถ้อยคำไพเราะให้ลอยไป พี่จ๋าผู้ถูก
น้ำพัดไป ขอความเจริญจงมีแก่พี่ ขอพี่จงให้
เพลงขับบทน้อย ๆ แก่ฉันสักบทหนึ่งเถิด.
[1256] ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่ได้รับความทุกข์
ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่เร่าร้อนด้วย
น้ำใด เราจักตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิด
แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[1257] พืชทั้งหลายงอกงามขึ้นได้บนแผ่นดิน
ใด สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้บนแผ่นดินใด
แผ่นดินนั้นก็พังทับศีรษะของเราแตก ภัยเกิด
ขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[1258] ชนทั้งหลายหุงอาหารด้วยไฟใด บรรเทา
ความหนาวด้วยไฟใด ไฟนั้นก็มาไหม้ตัวเรา
ภัยเกิดขึ้นแก่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.